ทำไมต้อง ปรึกษาหมอ ก่อนเสริมหน้าอก

ส่วนใหญ่แล้ว ก่อนเสริมหน้าอก คนไข้ก็จะมีคำถามมา ปรึกษา มากมาย เลยค่ะ คุยไปคุยมา กลับบ้านลืมค่ะ สรุปชั้นต้องผ่าอะไรบ้าง แฮ่!

หมอจะสรุปง่ายๆนะคะ ว่าหลัง ปรึกษาก่อนเสริมหน้าอก แล้ว สิ่งที่ควรจะได้คำตอบกลับไป ควรจะได้ข้อสรุปอะไรบ้าง

หน้าอก แบบเดี๊ยน ชั้น หนู ควรจะเสริมมั้ย >>> ถ้าเสริมได้ ไปต่อค่ะ

ถ้าเสริมไม่ได้ >>  อาจเป็นจาก หน้าอกคล้อยมาก เสริมไม่ช่วยอะไร แบบนี้ต้องยกกระชับ หรือ ผอมมาก แต่เจ้าตัวอยากได้ใหญ่เว่อวี อันนี้ คุณหมอก็อาจจะไม่เสริมให้นะคะ เพราะ ไม่ตอบในสิ่งที่คนไข้ต้องการ แถมได้รูปทรงหน้าอกที่ไม่สวยด้วยค่ะ

เห็นมั๊ยคะ ว่าถ้าไม่มา ปรึกษาก่อนเสริมหน้าอก ก็จะไม่ทราบเลยว่าเสริมหน้าอกแล้วสวยหรือไม่สวย

ในกรณีที่เสริมหน้าอกได้  การ ปรึกษาก่อนเสริมหน้าอก หมอจะคุยตั้งแต่

1.ตำแหน่งแผลที่ใช้ในการผ่าตัด >>>มีหลากหลายเลยค่ะ มีตั้งแต่

  • รักแร้ ( trans axillary )
  • ฐานนม หรือราวนม (inframammary )
  • รอบปานนม ( trans areolar )
  • สะดือ ( trans umbilical, อันนี้จะเป็นจากผ่าตัดส่องกล้องนะคะ แล้วเซาะโพรงใต้กล้ามเนื้อ เอา silicone ไปวาง )
ตำแหน่งแผลผ่าตัด - ปรึกษาก่อนเสริมหน้าอก

หลักๆที่ถามกันบ่อยๆนะคะ รักแร้ กะ ฐานนม แบบไหนดีกว่ากัน เอาจากประสบการณ์ของหมอนะคะ 

รักแร้ ( trans axillary ) เป็นตำแหน่งที่ขยับบ่อย เหงื่ออกเยอะ  ข้อเสียคือ ดูแลแผลลำบากค่ะ อาบน้ำก็ไม่ได้ในช่วงแรก คิดภาพนะคะ ว่าคงมีกลื่นเหม็นตุๆน่าดู ^^ อีกอย่าง ถ้าเปิดแผลจากรักแร้ แล้วเซาะโพรงไปถึง ฐานนม เพื่อวาง Silicone หลังผ่าจะเจ็บกว่า แผลฐานนมค่ะ (เปิดแผลมา เซาะโพรง วางsiliconeจัดทรงอีกนิด ก็เสร็จแล้วค่ะ) ที่สำคัญในความคิดหมอนะคะ ในกรณี ถ้ามีแผลเป็นนูนขึ้นมาแล้วที่รักแร้  จะใส่เสื้อกล้าม สายเดี่ยว แขนกุด ยกแขนขึ้นโชว์ นี่ลำบากเลยนะคะ

ราวนม หรือ ฐานนม ( inframammary )  แผลประมาณ 3-4ซม ค่ะ อยู่ที่ราวนม หรือ ฐานนม  แผลบริเวณนี้ จะจัดโพรง สำหรับวางsiliconeง่ายค่ะ เกิดโอกาส siliconeลอย น้อยกว่า แบบเข้าทางรักแร้ ทรงหน้าอก ดูสวย ธรรมชาติกว่า และ ที่สำคัญ ดูแลแผลงายค่ะ เป็นตำแหน่งที่ไม่ขยับ สามารถปิดแผ่นกันน้ำที่แผล แล้วอาบน้ำได้ค่ะ ไม่ต้องทนเหม็นตุกัน

รอบปานนม ( periareolar) วิธีนี้อาจมีโอกาสแผลเป็นซึ่งขยายใหญ่ได้ ดูไม่สวยงาม และอาจมีอาการชาของหัวนมได้ บางคนอาจมีผลต่อการให้นมบุตร เพราะการผ่าตัดอาจไปโดนท่อน้ำนมได้ ไม่แนะนำในกลุ่มสตรีหลังคลอด ที่หน้าอกคล้อยและเนื้อบาง เพราะแผลหลังผ่าตัดอาจขยายใหญ่ขึ้นได้

ทางสะดือ ( trans umbilical ) วิธีนี้จะใช้กล้องส่องจากสะดือเข้าไป ข้อดีคือแผลผ่าตัดจะเล็ก แต่จะใช้ได้กับเต้านมเทียมแบบที่เป็นถุงน้ำเกลือเท่านั้นและแผลหลังผ่าตัดบางครั้งอาจเห็นเป็นร่องจากสะดือขึ้นไปที่หน้าอกในกรณีที่ต้องมีการผ่าตัดแก้ไขครั้งที่สอง แผลจากสะดือจะใช้ไม่ได้ ต้องเปลี่ยนมาผ่าบริเวณใต้ฐานนมแทนวิธีนี้ซับซ้อนเลยไม่ค่อยเป็นที่นิยม

หมอเลือกใช้แผลใต้ฐานนม หรือราวนมเป็นส่วนใหญ่นะคะ ด้วยเหตุผล จัดทรงได้ง่ายและสวย เป็นธรรมชาติ ระยะเวลาพักฟื้นน้อย และดูแลแผลง่ายค่ะ

2. วางsiliconeตำแหน่งไหน เหนือกล้าม­ หรือใต้กล้าม

มี3แบบ นะคะ วางเหนือกล้ามเนื้อ หรือใต้เนื้อนม (Sub Glandular ) ,วางใต้กล้ามเนื้อ (Sub muscular or sub pectoral ) , วางแบบลูกครึ่ง (อันนี้เรียกให้ฟังง่ายๆนะคะ , Dual plane )

ตำแหน่งวางซิลิโคน - ปรึกษาก่อนเสริมหน้าอก

วางเหนือกล้าม ( Sub glandular ) มีข้อดีสำหรับ คนที่มีหน้าอกคล้อยนิดๆค่ะ พอใส่silicone จะดันเนื้อนม ปานนม และหัวนมยกขึ้น จะช่วยแก้เรื่องหน้าอกคล้อยได้ค่ะ แต่ต้องเป็นเคสที่คล้อยไม่มากนะคะ  ( mild ptosis or granular ptosis). ถ้าคล้อยเยอะ ต้องยกกระชับค่ะ  แต่ข้อเสีย ที่หมอไม่ชอบคือ เนื่องจากวางเหนือกล้ามเนื้อ  จะมีแค่ผิวบางๆ และเนื้อเยื่อบางๆมาคลุม silicone  เวลาผ่านไป ผิวแห้งและบางลงค่ะ ทรงหน้าอกจะเป็น block หรือมีโอกาส เกิดผิวสัมผัสแบบคลื่น( rippling)ได้มาก

เสริมหน้าอกเหนือกล้าม - ปรึกษาก่อนเสริมหน้าอก

จากภาพ ผู้ป่วยรายนี้มีหน้าอกคล้อยหลังจากให้นมบุตร การเสริมหน้าอกแบบวางบนชั้นเหนือเนื้อนมก็เป็นวิธีการรักษาวิธีนึง หลังทำจะได้หน้าอกที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและดูกระชับขึ้น

วางใต้กล้าม ( Sub Muscular ) ข้อดีคือ มีกล้ามเนื้อคลุมsiliconeได้หมดค่ะ  ไม่ดูเป็นblock  แต่อาจจะมีปัญหาในกลุ่มที่ กล้ามเนื้อหน้าอกมัดโต แข็งแรงมาก  ทรงอาจจะไม่ดูสวยธรรมชาติ ดู silicone ลอยๆขึ้น เพราะกล้ามเนื้อรัดค่ะ หรือบางคน พอออกแรงหน้าอกที เบ่งกล้ามหน้าอกที  กล้ามเนื้อแข็งแรงเกินเหตุ มันก็ไปกด silicone ให้เคลื่อนไปด้านข้างค่ะ ( pectoral dance )

Dual Plane เนื่องจากสองวิธีแรก มีปัญหา คือ ไม่มีอะไรมาคลุม  silicone และกล้ามเนื้อ คลุมรัดแน่นมากเกินไป เลยเกิด เทคนิคนี้ขึ้นมา โดยที่ 2/3 ด้านบน จะมีกล้ามเนื้อคลุม และด้านล่าง จะมีแค่เนื้อเยื่อและผิวหนังคลุม ข้อดีคือ ทรงที่ได้ดูเป็นธรรมชาติกว่าเยอะมากค่ะ ดูไม่เป็น block  การเคลื่อนไหว ก็เหมือนธรรมชาติด้วยค่ะ

ส่วนใหญ่แล้ว หมอจะวางแบบ dual plane นะคะ ยกเว้นในกลุ่มที่ ทรงหน้าอกมาคล้อยจริงๆ อันนี้ แนะนำเป็นวางเหนือกล้ามค่ะ

3. รูปทรงของSilicone

Silicone ที่ใช้อยู่กันทุกวันนี้ มีสองรูปแบบค่ะ ทรงกลม ( round shape ) หรือ ทรงหยดน้ำ( anatomical implant )   เรื่องนี้เราได้คุยกันครั้งที่แล้ว

ส่วนตัวหมอยังแนะนำทรงกลมนะคะ ไม่ต้องกลัวจะเป็นบลอค หรือดูเฟคไม่แพงค่ะ เนื่องจากเราวางแบบDual planeกล้ามเนื้อด้านบนจะกดsiliconeด้านบนลง ส่วนsiliconeด้านล่าง ไม่มีอะไรมากด ก็จะดูเนื้อเยอะๆ และ เจลsiliconeเวลาผ่านไป ซักเดือนครึ่ง ก็จะไหลลงข้างล่างนิดนึง ดังนั้น ทรงที่ได้ ก็จะเหมือนธรรมชาติค่ะ คือ มีเนินหน้าอก และมองเป็น slope ลงมาด้านล่าง           

อีกประเด็นนึง ที่ไม่แนะนำทรงหยดน้ำคือ เนื่องจากทรงหยดน้ำ ผิวจะเป็นผิวทรายอย่างเดียว (texture surface)  ตอนนี้ มีงานวิจัยได้พิสูจน์แล้วว่าผิวทรายเนี่ยมันไปครูดกะโพรงเนื้อเยื่อที่เราวางsiliconeไว้ ทำให้เกิดน้ำเหลือง แล้วไอ้เจ้าน้ำเหลืองเนี่ย มันกลายไปเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง (แต่เกิดที่เต้านม) เรียกว่า BIA-ALCL   >>> เรื่องนี้ เราจะมาคุยกันต่อ อีกตอนนะคะ

4.ลักษณะผิวของsilicone ( Surface)

มีผิวเรียบ และ ผิวทราย หมอยังคงแนะนำผิวเรียบนะคะ  เพราะว่า โอกาสเกิด BIA-ALCLน้อย (ไม่ใช่ไม่มีโอกาสนะคะ มีได้ค่ะ เพียงแต่ยังไม่มีรายงาน แต่ที่มีรายงานว่าเกิดเนี่ย เคสส่วนใหญ่ มาจากผิวทรายค่ะ)

5.Silicone กี่ CC คะ ( volume of silicone)

คำถามนี้ พบบ่อยเลยค่ะเพื่อนไปทำมา350  CC หนูใส่ได้เท่าเพื่อนมั้ยคะ  หรือ หมอคะ หนูอยากได้ 400 CC กลัวไม่ใหญ่ค่ะ

เคยสังเกตมั้ยคะ ว่าทำไมคนนี้ใส่siliconeได้ 250 CC ส่วนอีกคนใส่ได้ตั้ง350 CC ทั้งๆที่ตัวใกล้เคียงกัน การที่จะใส่ได้มากน้อยขึ้นกับหลายปัจจัยค่ะ

ฐานหน้าอก :ถ้าฐานหน้าอกแคบ หรือตัวเล็ก หมอก็เลือกsilicone ขนาดใหญ่ให้ไม่ได้ค่ะ เพราะsiliconeขนาดใหญ่ ฐานของsiliconeจะกว้างค่ะ คิดภาพง่ายๆค่ะ ว่าเราเอาของใหญ่พยายามยัดลงกล่อง กล่องระเบิดค่ะ ซึ่งก็คือ คลำได้ขอบของsiliconeนั่นเอง

ปรึกษาก่อนเสริมหน้าอก-เปรียบเทียบซิลิโคนกะฐานหน้าอก
อธิบายจากภาพง่ายๆนะคะ ว่าตอนแรกเราจะวัดฐานหน้าอกก่อน ว่าความกว้างเท่าไหร่ แล้วเราก็จะมาเลือกดูsilicone ซึ่งsiliconeที่เราเลือกมานั้น ควรจะมีความกว้างของฐานพอๆกับฐานหน้าอก ถึงจะเสริมออกมาแล้วพอดี ถ้าเราใส่siliconeที่มีฐานใหญ่มากๆ ซึ่งก็คือ จำนวนCCที่มากขึ้นนั่นเอง ก็จะทำให้คลำได้ขอบ ไม่สวย

ซิลิโคนที่พอดีกะฐานหน้าอก

รูปนี้ วางsilicioneที่ความกว้างฐานพอดีกับความกว้างทรวงอก
ซิลิโคนที่ใหญ่กว่าฐานหน้าอก

ส่วนรูปนี้จะพบว่าsiliconeที่มีความกว้างฐานใหญ่กว่าความกว้างทรวงอก
 siliconeจะพยายามดันออก จะทำให้คลำได้ขอบ ไม่สวย

ผิว : ถ้าผิวบาง เนื้อบาง ไม่แนะนำให้เสริมใส่size ใหญ่มากค่ะ ถ้าใหญ่มาก เวลาเซทตัวดีดีแล้ว จะเห็นเป็นบลอค กลม เลยค่ะ ไม่สวย  แถมอาจคลำได้ริ้วๆหรือลักษณะคลื่นอีก จากผิวของsiliconeชัดมาก

นอกจากการวัดฐานหน้าอก วัดความหนาของผิวหนังแล้ว การที่จะดูว่าใส่silicone ได้มากน้อยกี่CC หมอจะให้คนไข้ลองใส่ด้วยค่ะ  siliconeที่ให้ลองเราเรียกว่าsizer

 1. ขั้นตอนแรกหมอจะเลือกsize และรูปทรงที่เหมาะกับหน้าอกคนไข้

 2.ให้คนไข้ใส่บราที่เตรียมไว้ บราจะมีขนาดใหญ่นิดนึงนะคะ

 3. นำsilicone sizeที่เลือกใส่ในบรา 2ข้าง

 4.ใส่เสื้อทับบางๆเข้ารูป  แล้วให้ส่องกระจกค่ะ ว่าชอบหรือเปล่า วิธีนี้จะบอกได้คร่าวๆนะคะ ว่าหลังเสริมแล้ว ทรงจะออกมาเป็นอย่างไร

6. รายละเอียดเกี่ยวกับการผ่าตัด อื่นๆ

ผ่าตัด เสริมหน้าอกด้วยsiliconeอย่างเดียว ใช้ระยะเวลาประมาณ1-1.5 ชม ค่ะ

มีวิสัญญีแพทย์ ดูแลตลอดการผ่าตัด

โดยปกติแล้วหมอไม่ได้วางสายระบาย( drain ) หรือ ท่อระบายนะคะ ยกเว้นในกรณีที่มีเลือดซึมออกเยอะมากจริงๆ แม้ว่าห้ามเลือดแล้ว ก็ยังไหลเอ่อๆอยู่ แบบนี้จะใส่ให้ค่ะ ซัก 3-4วันก็ถอดท่อระบาย

สรุปสั้นๆ นะคะ

ถ้าเสริมได้ >>ไปต่อค่ะ

ตำแหน่งแผล( ราวนม, รักแร้, รอบปานม ,สะดือ)

ตำแหน่งที่วางsilicone

ลักษณะของsilicone ( กี่cc / ทรงอะไร กลม หรือ หยดน้ำ) ถ้าทรงกลมมีความพุ่ง (หรือความสูง หลายแบบ) /ผิวของsilicone(เรียบ หรือ หยดน้ำ)

Categories

Follow by Email
Instagram